วันพุธที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับผลการนับอนุภาค








ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ผลการนับอนุภาค



เครื่องวัดฝุ่น ที่จะมีการรายงานจำนวนและขนาด (ไมครอน) ของ อนุภาค ในปริมาณของของเหลว เครื่องมือที่ใช้ในการ นับอนุภาค มีการปรับเทียบที่จะยอมรับขนาดแตกต่างกันของอนุภาค ผลการ นับอนุภาค ถูกแบ่งออกเป็นช่วงขนาดหรือ “channels” แต่ละช่วงขนาดขึ้นอยู่กับขนาดที่เฉพาะของอนุภาค รูปที่ 3 แสดงแถวของช่องดังกล่าว และอนุภาคในการนับต่อมิลลิลิตรของผลตัวอย่าง 

ข้อมูล จำนวนอนุภาค ที่จะมีการรายงานว่า จำนวนของอนุภาค บางอย่างขนาดที่ใหญ่กว่า 26650 อนุภาคขนาดใหญ่กว่า 4 ไมครอน 9108 อนุภาคที่มีขนาดใหญ่กว่า 6 ไมครอน 1750 อนุภาคขนาดใหญ่กว่า 14 ไมครอน การ นับอนุภาค ในแต่ละช่องรวมถึงทั้งหมดของ อนุภาค ขนาดใหญ่แบ่งช่องได้เป็นอย่างดี

โดยแนวโน้มข้อมูลเหล่านี้ผ่านชุดของตัวอย่างที่ เปลี่ยนแปลงในอนุภาคเข้มข้นในแต่ละช่องสามารถใช้เพื่อหาจุดสึกหรอที่ผิดปกติ การวิเคราะห์ธาตุตัวอย่างเดียวกันมักจะระบุด้านหน้าของ อนุภาค ขนาดเล็กที่เกี่ยวข้องและชี้ไปที่แหล่งที่มาของการสึกหรอที่น่าจะเป็น





เช่นเดียวกับการทดสอบ S.O.S เทคนิคการสุ่มตัวอย่างที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญ แนวโน้มของข้อมูลขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพการทำงานที่ทำซ้ำของการสุ่มตัวอย่างและการใช้สถานที่เก็บตัวอย่างเดียวกัน สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเทคนิคการสุ่มตัวอย่างที่ถูกต้องขอให้ทราบเกี่ยวกับ AERV 5514 “S•O•S Services Sampling Techniques” and PEGJ0047

วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2558

เกร็ดความรู้เรื่องฝุ่นละออง


    ปัจจุบัน ฝุ่นละออง เป็นมลพิษทางอากาศที่เป็นปัญหาหลักใสกรุงเทพมหานครและชุมชนขนาดใหญ่ ฝุ่นละอองที่มีอยู่ในบรรยากาศรอบ ๆ ตัวเรา มีขนาดตั้งแต่ 0.002  ไมครอน  ซึ่งเป็นกลุ่มของโมเลกุล (มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น  ต้องใช้จุลทรรศน์แบบอิเลคตรอน)ไปจนถึงขนาดใหญ่กว่า 500 ไมครอน ซึ่งเป็นฝุ่นทรายขนาดใหญ่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า (ฝุ่นที่มองเห็นด้วยตาเปล่ามีขนาดตั้งแต่ 50 ไมครอนขึ้นไป) ฝุ่นละอองเป็นสารที่มีความหลากหลายทางด้านกายภาพและองค์ประกอบ อาจมีสภาพเป็นของแข็งหรือของเหลวฝุ่นละออง ที่แขวนลอยอยู่ในอากาศได้นาน มักจะเป็นฝุ่นละอองขนาดเล็ก (ซึ่งมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 10 ไมครอน) เนื่องจาก มีความเร็วในการตกตัวต่ำ หากมีแรงกระทำจากภายนอกเข้ามีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น การไหลเวียนของอากาศ กระแสลม เป็นต้น จะทำให้แขวนลอยอยู่ในอากาศได้นานมากขึ้น ฝุ่นละอองที่มีขนาดใหญ่ (ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลายใหญ่กว่า 100 ไมครอน) อาจแขวนลอยอยู่ในบรรยากาศได้เพียง 2-3 นาที แต่ฝุ่นละอองที่มีขนาด เล็กกว่า 0.5 ไมครอน อาจแขวนอยู่ในอากาศ ได้นานเป็นปี
    ฝุ่นละออง ในบรรยากาศอาจแยกได้เป็น  2 ประเภท ตามแหล่งกำเนิดของฝุ่นละออง คือ  ฝุ่นละอองที่เกิดขึ้น และแพร่กระจายสู่บรรยากาศโดยตรงและฝุ่นละอองที่เกิดขึ้นภายหลังโดยปฏิกิริยาต่าง ๆ ในบรรยากาศ เช่น การรวมตัวของฝุ่นละอองด้วยกันหรือรวมตัวกับก๊าซหรือรวมตัวกับของเหลวหรือรวมตัวกับของแข็ง ด้วยปฏิกิริยาทางฟิสิกส์หรือทางเคมีหรือทางเคมีแสง

แหล่งที่มีที่สำคัญของฝุ่นละออง

แหล่งที่มีของฝุ่นละอองในบรรยากาศ โดยทั่วไปจะแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

   1.ฝุ่นละอองที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ (Natural Particle) ได้แก่ ดิน ทราย หิน ละอองไอน้ำ เขม่าควันจากไฟป่า และฝุ่นเกลือจากทะเล เป็นต้น
   2.ฝุ่นละอองที่เกิดจากกิจกรรมที่มนุษย์สร้างขึ้น (Man-made Particle) ได้แก่
ฝุ่นจากการคมนาคมขนส่งและการจราจร เช่น ฝุ่นดินทรายที่ฟุ้งกระจายในถนน ขณะที่รถยนต์วิ่งผ่าน ฝุ่นดินทรายที่หล่นจากการบรรทุกขนส่ง การกองวัสดุสิ่งของบนทางเท้าหรือบนเส้นทางการจราจร
ฝุ่นจากการก่อสร้าง เช่น ฝุ่นจากการสร้างถนน/อาคาร การปรับปรุงผิวการจราจร การรื้อถอนอาคารและสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ

ผลกระทบของฝุ่นละออง ต่อสภาพบรรยากาศทั่วไป

   ฝุ่นละอองจะลดความสามารถในการมองเห็น เนื่องจากฝุ่นละอองในบรรยากาศทั้งที่เป็นของแข็ง และของเหลวสามารถดูดซับและหักเหแสงได้ ทำให้ทัศนวิสัยในการมองเห็นเสื่อมลง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาด ความหนาแน่น และองค์ประกอบทางเคมีของฝุ่นละอองนั้น

ผลกระทบของฝุ่นละอองต่อวัตถุและสิ่งก่อสร้าง

   ฝุ่นละอองในบรรยากาศสามารถทำอันตรายต่อวัตถุและสิ่งก่อสร้างได้ เช่น การสึกกร่อนของโลหะ การทำลายผิวหน้าของสิ่งก่อสร้าง การเสื่อมคุณภาพของผลงานทางศิลปะ ความสกปรก/เลอะเทอะของวัตถุ เป็นต้น

ต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์

   ผลกระทบของฝุ่นละอองฝุ่นละอองที่มีขนาดใหญ่ก่อให้เกิดปัญหามลพิษหรือเหตุเดือดร้อนรำคาญ ส่วนฝุ่นละอองที่สามารถเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจของมนุษย์ได้มีขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน ฝุ่นละอองขนาดเล็กเหล่านี้ เมื่อเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ จะเกาะตัวหรือตกตัวได้ในส่วนต่าง ๆ ของระบบทางเดินหายใจ ก่อให้เกิดการระคายเคืองและทำลายเนื้อเยื่อของอวัยวะนั้น ๆ เช่นเนื้อเยื่อปอด ซึ่งหากได้รับในปริมาณมากหรือในช่วงเวลานาน จะสามารถสะสมในเนื้อเยื่อปอด เกิดเป็นผังผืดหรือแผลขึ้นได้ และทำให้การทำงานของปอดเสื่อมประสิทธิภาพลงทำให้หลอดลมอักเสบ เกิดหอบหืดถุงลมโป่งพอง และโอกาสเกิดโรคระบบทางเดินหายใจเนื่องจากติดเชื้อเพิ่มขึ้นได้

แนวทางในการแก้ไขปัญหา

   การควบคุมฝุ่นละออง ที่แหล่งกำเนิด โดยอาศัยเทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น การควบคุมฝุ่นละอองจากโรงงานอุตสาหกรรมการปรับปรุงคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิงให้ดีขึ้น ซึ่งจะทำให้เพิ่มประสิทธิภาพการเผาไหม้เชื้อเพลิงของยานพาหนะ และโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น
การป้องกันการฟุ้งกระจายของฝุ่นละอองจากรถบรรทุกวัสดุก่อสร้าง  หิน ดิน ทราย  หรือฝุ่นละอองจากกิจกรรม การก่อสร้างอาคารและถนน โดยใช้ผ้าใบหรือวัสดุคลุมรถให้มิดชิดและทำความสะอาดล้อรถบรรทุก จำกัดเขตก่อสร้างให้ชัดเจนพร้อมทั้งมีวัสดุคลุมหรือกั้นบริเวณก่อสร้างให้เรียบร้อย
การปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง  เช่น มาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศ  มาตรฐานอากาศเสียจาก โรงงานอุตสาหกรรม มาตรฐานอากาศเสียจากยานพาหนะ เป็นต้น